Skip to content

ตรวจพบเนื้องอกมีลูกได้ไหม ?


17 มีนาคม 2025
บทความ

Q : ตรวจพบเนื้องอกมีลูกได้ไหม ?

A : ก่อนอื่นเลยต้องตรวจดูก่อนว่าเนื้องอกที่พบเป็นแบบไหน แต่อันที่จริงแล้วนั้นเนื้องอกมีผลกับการตั้งครรภ์หากเป็นเนื้องอกที่เกิดบริเวณในโพรงมดลูก ทางการแพทย์เชื้อว่าเนื้องอกอาจจะไปขวางการฝังตัวของตัวอ่อนจึงต้องได้รับการประเมินให้แน่ชัดว่าเนื้องงอกที่เกิดขึ้นนั้นอยู่บริเวณไหน ถ้าเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อมดลูกหรือว่าอยู่นอกมดลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งหากเป็นเนื้องอกกลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออกและสามารถเข้ามาดำเนินการรักษามีบุตรยากได้เลย แต่หากในกรณีที่เนื้องอกนั้นเกิดที่บริเวณในโพรงมดลูกก็มีความจำเป็นที่จำต้องรักษาก่อนโดยการส่องกล้องเข้าไปในโพรงมดลูกและใช้อุปกรณ์ในการตัดติ่งเนื้ออกเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเป็นเนื้องอกต่อไปหลังจากนั้นก็สามารถเริ่มกระบวนการรักษามีบุตรยากต่อไปได้

วิธีการสังเกตหากมีเนื้องอก

การสังเกตอาการของเนื้องอกในระบบสืบพันธุ์สามารถเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะอาการอาจไม่ชัดเจนในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้เป็นวิธีการและอาการที่อาจบ่งชี้ถึงการมีเนื้องอกในมดลูกหรือรังไข่

  • เลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนมามากกว่าปกติหรือมีการตกเลือดระหว่างรอบประจำเดือนการมีเลือดออกนานกว่าปกติหรือมีการเกิดเลือดออกผิดปกติหลังจากมีเพศสัมพันธ์

  • ปวดท้องหรือปวดหลัง ปวดท้องส่วนล่างหรือปวดหลังที่ไม่มีสาเหตุชัดเจนอาการปวดอาจรุนแรงขึ้นในช่วงประจำเดือน

  • รู้สึกไม่สบายหรือรู้สึกดันท้อง รู้สึกเต็มหรือดันในท้องต่ำอาจรู้สึกถึงมวลหรือก้อนในท้อง

  • การปัสสาวะบ่อยหรือรู้สึกว่าปัสสาวะไม่หมด เนื้องอกที่ใหญ่สามารถกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือรู้สึกว่าปัสสาวะไม่หมด

  • ปัญหาทางเดินอาหาร อาจมีอาการท้องผูกหรือรู้สึกว่าอาหารไม่ย่อย เนื่องจากการกดทับที่ลำไส้

  • ปวดท้องหรือปวดหลัง ปวดท้องส่วนล่างหรือปวดหลังที่ไม่เคยเกิดมาก่อน

  • ประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอหรือมีเลือดออกผิดปกติ

  • รู้สึกถึงก้อนในท้อง รู้สึกถึงก้อนที่ท้องหรือลักษณะการบวมในท้อง

การรักษาด้วยยา

  • ยาฮอร์โมนอาจช่วยลดขนาดของเนื้องอกในมดลูกโดยการลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์)

  • ยาคุมกำเนิด บางครั้งใช้เพื่อควบคุมอาการเลือดออกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอก (การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์)

การรักษาทางการแพทย์

  • การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออกจากมดลูก โดยมักใช้ในกรณีที่ต้องการรักษาความสามารถในการตั้งครรภ์

  • การผ่าตัดเอามดลูกออกทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการรักษาที่มักใช้ในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือมีปัญหาร้ายแรง

การรักษาเนื้องอกจะต้องจัดการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้องอกและการรักษามีบุตรยากจะต้องดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางรวมไปถึงใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธ์หรือการทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จได้

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ