Skip to content

ข้อควรรู้ ตรวจหลังคลอด ตอนไหน? เจ็บไหม? ต้องตรวจอะไรบ้าง?


27 มีนาคม 2025
บทความ

การตรวจหลังคลอด

การตรวจหลังคลอด คือการตรวจทั่วไปและตรวจภายใน เพื่อดูสุขภาพหลังคลอดของคุณแม่ คุณหมอจะตรวจเช็กร่างกายเพื่อดูอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ ว่าหลังคลอดจะคืนสู่สภาพปกติหรือยัง และมีความผิดปกติไหม รวมถึงตรวจภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ หรือคุณแม่เคยตรวจพบภาวะแทรกซ้อนในช่วงขณะตั้งครรภ์คุณหมอจะตรวจเช็กว่าหลังคลอดภาวะแทรกซ้อนนั้นจะหายไปหรือยัง

ทำไมต้องตรวจหลังคลอด

การตรวจหลังคลอดมีความจำเป็นมาก เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอวัยวะต่างๆของคุณแม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์และระหว่างคลอด ซึ่งการตรวจหลังคลอดคุณหมอจะถามถึงอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างพักฟื้นก่อนจะถึงวันนัดตรวจหลังคลอด

ยกตัวอย่างเช่น มีอาการเจ็บแผลผ่าตัดไหม แผลผ่าตัดมีหนองหรือเปล่า น้ำคาวปลามีสีมีกลิ่นไหม ปัสสาวะเป็นปกติหรือยัง มีอาการท้องผูกไหม เป็นต้น

ต่อให้หลังคลอดคุณแม่จะมีสุขภาพร่างกายที่ปกติดูแข็งแรงก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องตรวจหลังคลอด เพราะแพทย์จะตรวจร่างกายของคุณแม่อย่างละเอียด ตรวจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากเกิดความผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะได้รักษาได้ทัน

ควรตรวจหลังคลอดตอนไหน

สำหรับคำถามที่ว่า ตรวจหลังคลอด ตรวจตอนไหน? ตรวจช้าสุดกี่เดือน? โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอจะนัดคุณแม่เข้ามาตรวจร่างกายในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร เพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปากมดลูกและอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ด้วยการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แต่หากมีอาการผิดปกติก่อนถึงช่วงเวลาตรวจหลังคลอด เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องอย่างรุนแรง น้ำคาวปลาผิดปกติ แผลฝีเย็บผิดปกติ มีก้อนที่เต้านม มีไข้หนาวสั่น มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


วิธีเตรียมตัวสำหรับการตรวจหลังคลอด

ตรวจหลังคลอดต้องใช้สมุดสีชมพูไหม? การเตรียมตัวก่อนมาตรวจหลังคลอด คุณแม่ควรเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการคลอดและการฝากครรภ์เท่าที่มี รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว อาการผิดปกติที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์และคลอด เช่น ภาวะเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น เพื่อให้คุณหมอมีข้อมูลในการตรวจเช็กมากขึ้น

และที่สำคัญคุณแม่ควรดูแลร่างกายของตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้การเข้าไปตรวจหลังคลอดแนะนำให้ใส่เสื้อผ้าที่โล่งสะบายและสะดวกต่อการเปลี่ยนชุดก่อนเข้าห้องตรวจ

ตรวจหลังคลอด ต้องตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจเช็คร่างกายทั่วไป

หมอจะทำการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจหน้าท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณแม่มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง รวมถึงการตรวจเต้านมเพื่อประเมินว่ามีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอและไหลดีหรือไม่

2. ตรวจภายในหลังคลอด

หมอจะตรวจภายในเพื่อดูแผลฝีเย็บ ตรวจดูผนังช่องคลอดว่าแผลที่เย็บเรียบร้อยดีหรือไม่ มีการอักเสบบริเวณช่องคลอดหรือเปล่า ถ้ามีมูกไข่ตกหรือตกขาวมาก หมอก็จะตรวจดูว่าความผิดปกตินี้เกิดจากอะไร ตรวจดูว่าปากมดลูกปิดหรือไม่ มีแผลหรือไม่ โดยหลังคลอดอาจจะมีแผลเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

ส่วนใหญ่คุณหมอจะตรวจมะเร็งปากมดลูกให้พร้อมกับการตรวจภายในหลังคลอดด้วยเลย นอกจากนี้ก็จะตรวจดูขนาดของมดลูกด้วยว่ากลับสู่สภาพปกติแล้วหรือยัง ถ้ายังและมีขนาดโตกว่าปกติมาก หมอจะตรวจหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร รวมทั้งตรวจดูตรงตำแหน่งของปีกมดลูกคือ ท่อนำไข่และรังไข่ ว่ามีก้อนเนื้อหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์อาจตรวจไม่พบเพราะมดลูกขยายใหญ่จนกลบเนื้องอก แต่เมื่อมดลูกเป็นปกติแล้วก็จะสามารถตรวจพบได้

โดยความแตกต่างระหว่างการตรวจภายในของคุณแม่ที่ผ่าคลอดกับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ มีดังนี้

  • สำหรับแม่ผ่าคลอด

คุณหมอจะตรวจดูแผลคลอด โดยปกติแล้วแผลคลอดไม่ว่าจะเป็นคลอดปกติหรือผ่าคลอดก็มักจะหายภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนอาการปวดแผลหลังคลอดจะปวดอยู่ประมาณ 3-4 วัน หรืออย่างมากไม่เกิน 1 อาทิตย์ และอาการปวดจะค่อยๆลดลง

ส่วนแผลผ่าตัดจะติดสนิทภายใน 1 สัปดาห์ ไม่มีการบวมหรือมีเลือดไหลซึมออกมาจากแผล แต่จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนกว่าแผลจะหายดี คุณแม่ผ่าคลอดจึงต้องหมั่นดูแลความสะอาดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ

  • สำหรับแม่คลอดธรรมชาติ

คุณหมอจะตรวจมดลูกว่าเข้าอู่หรือยัง ซึ่งส่วนใหญ่มดลูกจะเข้าอู่ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เมื่อไปตรวจหมอจะใช้นิ้วสอดเข้าไปภายในช่องคลอด และใช้อีกมือคลำบริเวณหน้าท้อง หากพบว่ามีก้อนที่หน้าท้องแสดงว่ามดลูกเข้าอู่ช้า

3. ตรวจอาการผิดปกติ

ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดอาการผิดปกติ เช่น ภาวะเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น เมื่อคลอดบุตรเสร็จแล้วคุณหมอจะมีการตรวจเพื่อเช็กดูว่าอาการหรือโรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้หายหรือยัง

รวมทั้งจะตรวจอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังคลอดบุตร เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดหน่วงท้องน้อย มีอาการปวด บวม หรือแดงบริเวณแผลฝีเย็บ มีเลือดหรือหนองไหลออกจากแผล น้ำคาวปลามีสีแดงสด ไม่จางลงภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด รวมถึงมีอาการปวด บวม แดงหรือมีก้อนที่บริเวณเต้านม หากตรวจความผิดปกติจะได้รักษาได้ทันท่วงที

4. ตรวจสภาพจิตใจ

นอกจากร่างกายของคุณแม่หลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแล้ว คุณแม่มักจะกังวลกับการเลี้ยงลูก ทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง เกิดความเครียด จนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

คุณหมอก็จะสังเกตอาการและพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติของคุณแม่ ด้วยการถามไถ่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากคุณแม่มีปัญหา หมอก็จะช่วยหาทางวางแผนแก้ไขต่อไป


อาการหลังคลอดที่น่าเป็นห่วง

อาการหลังคลอดที่น่าเป็นกังวล ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน มีดังนี้

  • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย เจ็บปวด หรือแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปวดศีรษะขั้นรุนแรง
  • เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
  • แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดอักเสบ บวม แดง หรือมีหนอง

คำถามที่พบบ่อย

ตรวจหลังคลอดเจ็บไหม

การตรวจหลังคลอด ไม่เจ็บ เพราะจะเหมือนกับการตรวจภายในทั่วไป การตรวจหลังคลอดแนะนำให้ตรวจกับโรงพยาบาลที่คุณแม่คลอดและฝากครรภ์ เนื่องจากทางโรงพยาบาลจะมีประวัติของคุณแม่และทำให้คุณหมอตรวจได้ง่ายขึ้น

ตรวจหลังคลอดห้ามเกินกี่เดือน

การตรวจหลังคลอดคุณหมอจะนัดให้มาตรวจในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจร่างกายและดูความผิดปกติของคุณแม่หลังคลอด ซึ่งไม่ควรไปหาหมอเกินจากวันที่หมอนัด

ไม่ได้ตรวจหลังคลอด อันตรายไหม

การตรวจหลังคลอดสำคัญไม่ควรละเลย เพราะหลังการคลอดร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง ดังนั้นการตรวจร่างกายหลังคลอดจึงมีความจำเป็นอย่างมากไม่ควรปล่อยผ่าน

ตรวจหลังคลอดที่คลินิกได้ไหม

การตรวจหลังคลอดส่วนมากจะเป็นการนัดตรวจจากโรงพยาบาลที่คุณแม่คลอด เนื่องจากทางโรงพยาบาลจะมีประวัติของคุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงตอนคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สะดวกไปตรวจที่โรงพยาบาลก็สามารถตรวจที่คลินิกใกล้บ้านได้

ข้อสรุป

การตรวจหลังคลอด คือการตรวจทั่วไปและตรวจภายใน เพื่อดูสุขภาพหลังคลอดของคุณแม่ คุณหมอจะตรวจเช็กร่างกายเพื่อดูอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ ว่าหลังคลอดจะคืนสู่สภาพปกติหรือยัง และมีความผิดปกติไหม รวมถึงตรวจสภาพจิตใจของคุณแม่ ซึ่งการตรวจหลังคลอดคุณหมอจะนัดเข้ามาตรวจในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังจากคลอดบุตรไปแล้ว โดยการตรวจหลังคลอดจะเหมือนการตรวจภายในปกติไม่เจ็บแต่อย่างใด

ทั้งนี้คุณแม่ไม่ควรละเลยการตรวจหลังคลอด เพราะต่อให้สภาพร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและดูเป็นปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าภายในของคุณแม่จะปกติไปด้วย ดังนั้นควรมาตามนัดที่คุณหมอนัดจะดีที่สุด หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ