Skip to content

อัณฑะอักเสบ ปัญหาที่ผู้ชายอย่ามองข้าม มีอาการและวิธีรักษาอย่างไร


27 มีนาคม 2025
บทความ

อาการอัณฑะอักเสบ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนอวัยวะส่วนอื่น ๆ บนร่างกาย พบได้กับผู้ชายในทุกช่วงวัย และพบมากในกลุ่มวัยรุ่น มีอาการเกิดจากการติดเชื้อหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้อาการอัณฑะอักเสบยังส่งผลให้ลูกอัณฑะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติร่วมไปถึงส่งผลให้ลูกอัณฑะฝ่อได้

อัณฑะอักเสบ (Orchitis)

อัณฑะอักเสบ (Orchitis) คือ อาการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อร่วมกับท่อนำอสุจิ อาการอัณฑะอักเสบเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างพร้อม หรือข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ อาการเหล่านี้จะทำผลเสียได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชียวชาญ เช่น ส่งผลให้เข้าข่ายบุตรยาก และอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง

อาการอัณฑะอักเสบ

อาการอัณฑะอักเสบ เกิดขึ้นกับจากความผิดปกติบริเวณอัณฑะ ส่งผลทำให้มีลักษณะอาการ ดังนี้

  • อัณฑะมีอาการบวม / แดง
  • อัณฑะมีลักษณะบวมแข็ง
  • มีอาการเจ็บ / ปวดบริเวณขาหนีบ
  • เกิดอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • รู้สึกหนักบริเวณอัณฑะ
  • มีอาการเจ็บหรือปวดขณะปัสสาวะ
  • หลั่งอสุจิมีเลือดปน

สาเหตุอัณฑะอักเสบ

อาการอัณฑะอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจาการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อร่วมกับท่อนำอสุจิ จนส่งผลทำให้เกิดอาการอักเสบที่บริเวณอัณฑะ และสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น

ภูมิคุ้มกันต่ำ

  • ติดเชื้อ HIV

HIV ก็คือไวรัสชนิดหนึ่งที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ติดเชื้อแบคทีเรีย

  • จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

มักพบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่นชาย เช่น โรคหนองใน , โรคหนองในเทียม ส่วนใหญ่มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยาง

  • จากโรคอื่นๆ

ผู้มีภาวะอัณฑะอักเสบมักเกิดอาการร่วมกับถุงอสุจิอักเสบ , การติดเชื้อจากทางเดินปัสสาวะ

ติดเชื้อไวรัส

สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mump virus) ส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการอัณฑะอักเสบร่วมด้วย

อัณฑะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ

เกิดได้จากการรับประทานยาบางชนิดก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ หรือเกิดในโรคหลอดเลือดอักเสบ

กลุ่มผู้เสี่ยงอัณฑะอักเสบ

อาการอัณฑะอักเสบเกิดได้อย่างเฉียบพลัน อาจเกิดได้จากปัญหาทางสุขภาพ หรือพฤติกรรมทางเพศที่มีความเสี่ยง หากไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดผลกระทบได้

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดอัณฑะอักเสบ

  • มีการเปลี่ยนคู่นอนตลอด
  • มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
  • มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ
  • เป็นโรคที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่เคยได้รับวัคฉีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสคางทูม

อาการอัณฑะอักเสบที่ควรพบแพทย์

อาการอัณฑะอักเสบ อัณฑะจะมีลักษณะแข็งร่วมกับบวมแดง สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งมีอาการหน่วงๆ ที่อัณฑะพร้อมอาการปวดบริเวณขาหนีบอาการเหล่านี้หากมีมากกว่า 2 วัน ยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาให้ถูกวิธี

  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้/ อาเจียน
  • เจ็บหน่วงบริเวณอัณฑะขึ้นเรื่อยๆ
  • มีเลือดออกพร้อมปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บและปวด เมื่อกดบริเวณขาหนีบและอัณฑะ



การวินิจฉัยภาวะอัณฑะอักเสบ

1. การซักประวัติเบื้องต้น

หากเมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติ เข้าข่ายอาการเบื้องต้นของภาวะอัณฑะอักเสบ ให้รีบเข้าปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยแพทย์จะเริ่มจากการเช็คประวัติเบื้องต้น

  • อายุผู้ป่วย
  • อาการเบื้องต้นของภาวะอัณฑะอักเสบ
  • เช็คประวัติการร่วมเพศ
  • เช็คประวัติการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ประวัติเกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินปัสสาวะ
  • เช็คประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ

2. การตรวจปัสสาวะ

  • เก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย
  • วิเคราะห์ผลเพื่อหาสาเหตุการติดเชื้อ

3. การตรวจอัลตราซาวด์

  • ตรวจการไหลเวียนของเลือดบริเวณอัณฑะ
  • ตรวจหาอาการผิดปกติอื่นๆ

4. การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV)

  • ตรวจในกรณีแพทย์มีข้อสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ
  • ตรวจเมื่อผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยง

5. การตรวจและคัดกรองโรคทางเพศสัมพันธ์

  • จะใช้วิธีนี้ตรวจในกรณีที่มีสารคัดหลั่งออกมาจากท่อนำปัสสาวะ
  • เพื่อตรวจหาเชื้อโรคหนองในแท้, โรคหนองในเทียม

อัณฑะบวม วิธีรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการอัณฑะอักเสบ หรือผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ ไม่ส่งผลเสียต่อการเจริญพันธ์ ในขั้นตอนการรักษาภาวะอัณฑะอักเสบจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคลว่าเกิดจากสาเหตุใดตามการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • อัณฑะอักเสบมีสาเหตุเกิดจากการติดชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะใช้วิธีการรักษาโดยใช้ยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาให้หมดตามคำสั่งแพทย์ แม้อาการการจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพื่อให้ร่างกายหายจากการติดเชื้ออาจใช้ระยะเวลาในการรักษา
  • อัณฑะอักเสบมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การรักษาจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการเจ็บของผู้ป่วยโดยใช้ยาต้านการอักเสบ
  • ใช้วิธีการประคบเย็นช่วยในการบรรเทาอาการ ไม่เกิน 20 นาที/ครั้ง ข้อควรระวังคือห้ามให้นำแข็งสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ในช่วงระยะแรกควรใช้วิธีประคบเย็นหลายครั้งต่อวันเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและบวม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการยกของหนัก ควบคู่ไปกับการรับประทานยาที่แพทย์จัดให้
  • หากอาการุนแรงมากขึ้นแพทย์จะพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าเส้นเลือด


1. การประคับประคองอาการ

  • ทานยาแก้ปวด

เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวนขาหนีบและอัณฑะ

  • ยาลดไข้

เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมีไข้ขึ้นสูง

  • ยาในกลุ่ม NSAIDs

กลุ่มยาชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้บรรเทาอาการอักเสบ

2. การรักษาที่ต้นเหตุโรค

  • กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย

แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ

  • กรณีติดเชื้อไวรัส

แพทย์จะเน้นรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการอักเสบด้วยยาต้านอักเสบ เช่น ยาไอบรูโพรเฟน

  • กรณีอื่นๆ

หากอาการรุนแรงมากขึ้นแพทย์จะพิจารให้ยาผ่านเส้นเลือด


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากอัณฑะอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะมีอาการอัณฑะอักเสบคือ อาจจะส่งผลให้มีลูกยาก จากสาเหตุการอักเสบของท่อเก็บอสุจิ อาการเสื่อมของเนื้อเยื้อบริเวณอัณฑะ มีรูทะลุบริเวณผิวหนังถุงอัณฑะ ผู้ป่วยที่มีอาการอัณฑะอักเสบเกิดจากการไวรัสคาทูมได้เช่นกัน นอกจากนี้ผู้ป่วยภาวะอาการอัณฑะอักเสบจะมีความผิดปกติในตัวอสุจิได้หลังจากเกิดอาการอัณฑะอักเสบ หากมีอาการบวมเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะ

แนวทางการป้องกันโรคอัณฑะอักเสบ

วิธีการในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอัณฑะอักเสบ สามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • รักษาสุขภาพอนามัย
  • ใส่ถุงอนามัยป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • ไม่ซื้อยาใช้เองโดยไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากแพทย์
  • เมื่อเสี่ยงเป็นโรคติดต่อควรพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม


คำถามที่พบบ่อย

อัณฑะอักเสบ กินยาอะไร?

  • ยาแก้ปวด
  • ยาลดไข้
  • กลุ่มยา NSAIDs
  • ยาแก้อักเสบ
  • ยาลดอาการคลื่นไส้/อาเจียน

อัณฑะอักเสบ ห้ามกินอะไร?

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการขาดสติจนทำให้เกิดการมีเพศสสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพื่อโดยไม่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ