Skip to content

Beyond IVF ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ Fertility Associates (FA) จากประเทศนิวซีแลนด์


17 มีนาคม 2025
บทความ

เผยก้าวสำคัญในเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับมาตรฐานการแพทย์

กรุงเทพฯ มกราคม 2568 – Beyond IVF ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ร่วมกับ Fertility Associates (FA) จากประเทศนิวซีแลนด์ และ Trithep Corporation ประกาศความร่วมมือซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับประเทศไทย ด้วยเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในภาคส่วนสำคัญต่างๆ และยกระดับมาตรฐานการแพทย์ในประเทศไทย

โดยในพิธีครั้งนี้ได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญ ได้แก่ คุณวินส์ตัน ปีเตอร์ส รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนิวซีแลนด์, ฯพณฯ โจนาธาน คิงส์ เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย, คุณซูซี ฟิวเทรลล์ อัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์แห่งสำนักงานการค้าประเทศนิวซีแลนด์ในประเทศไทย, คุณอภินันท์ สัจเดว์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Trithep Corporation, คุณทอม กอร์ดดาร์ด ผู้อำนวยการ Fertility Associates (FA), คุณสิทธัญ จีรวงศ์ไกสร และ คุณ ทิโมธี เดวิส ประธานกรรมการบริหาร Beyond IVF, คุณมนต์นภา ฉายาวิจิตรศิลป์ และ นพ.มนัส ฉายาวิจิตรศิลป์ เข้าร่วมในพิธีลงนามด้วย

ความร่วมมือระหว่าง Beyond IVF และ Fertility Associates (FA) ถือเป็นก้าวสำคัญในเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับมาตรฐานการแพทย์ของ Beyond IVF ซึ่งในอนาคต Beyond IVF ตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับการให้บริการที่มีคุณภาพระดับโลกในราคาที่เข้าถึงได้ภายในปี 2025 พร้อมมุ่งมั่นที่จะสร้างครอบครัวให้แก่คู่สมรสที่กำลังมองหาความช่วยเหลือในเส้นทางสู่การมีบุตร

หนึ่งในแรงจูงใจสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ คือการนำองค์ความรู้ความสามารถจาก FA ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มาปรับใช้ พร้อมทั้งส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Embryoscope เข้ามาใช้ที่ Beyond IVF อีกทั้งยังมีแผนที่จะนำเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดย Reproductive Technology Accreditation Committee (RTAC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์มาใช้ โดย RTAC จะรับรองการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ผ่านการตรวจสอบทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

สำหรับ Beyond IVF เป็นศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ให้คำปรึกษาดูแลผู้ที่อยากมีบุตรโดยแพทย์เฉพาะทางด้านรักษามีบุตรยากประสบการณ์กว่า 20 ปี นำโดย “นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช” พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานชั้นนำเป็นที่ยอมรับในด้านการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก เป้าหมายสำคัญของความร่วมมือกับ Fertility Associates คือการจัดหาพาร์ทเนอร์ทางการรักษาเพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของ Beyond IVF

เกี่ยวกับ Fertility Associates (FA)

Fertility Associates (FA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 โดย “นพ. เฟรดดี้ เกรแฮม” และ “นพ. ริชาร์ด ฟิชเชอร์” เป็นผู้บุกเบิก IVF ในนิวซีแลนด์ และปัจจุบันเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม IVF ทั้งในนิวซีแลนด์และมาเลเซีย FA รักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธี IVF มากกว่า 5,000 รอบต่อปี ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของตลาด IVF ในประเทศไทย โดยมีคลินิกให้บริการเต็มรูปแบบ 6 แห่ง และคลินิกให้คำปรึกษา 17 แห่งทั่วนิวซีแลนด์ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณ 75% นอกจากนี้ FA ยังถือหุ้นใหญ่ใน Sunfert International Fertility Centre (SIFC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ IVF รายใหญ่อันดับ 2 และ Sophea ในประเทศมาเลเซีย โดยมีคลินิกบริการเต็มรูปแบบ 5 แห่ง และคลินิกให้คำปรึกษา 2 แห่ง FA ได้ช่วยให้มีการถือกำเนิดของทารกมากกว่า 29,000 คนจนถึงปัจจุบัน

Fertility Associates มีชื่อเสียงในด้านอัตราความสำเร็จที่สูงในการรักษาภาวะมีบุตรยาก อันเป็นผลมาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีล้ำสมัย ความสำเร็จของ FA ยังช่วยสร้างฐานที่แข็งแกร่งในมาเลเซียยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของบริการในภูมิภาคอีกด้วย

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ