สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตั้งครรภ์
1. เตรียมร่างกายให้พร้อม
การปรับสุขภาพให้แข็งแรงก่อนตั้งครรภ์เริ่มจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจำเป็นต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การวิ่ง ปั่นจักรยาน โยคะ และแอโรบิก ซึ่งยังช่วยในเรื่องการหายใจและการทำสมาธิด้วย
2. เตรียมจิตใจให้พร้อม
ความเครียดส่งผลโดยตรงต่อการปฏิสนธิ ความคิดและความรู้สึกมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต การจัดการกับชีวิตประจำวันก็มีความสำคัญ ฮอร์โมนความเครียดที่สูงอาจทำให้ไข่ตกช้าหรือประจำเดือนมาไม่ปกติ
3. วางแผนการเงิน
การเตรียมความพร้อมทางการเงินเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากการมีบุตรจะเพิ่มค่าใช้จ่ายตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น ควรเตรียมตัวด้านการเงินให้พร้อม
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
ทั้งฝ่ายชายและหญิงควรเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยตรวจสุขภาพและดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคสู่ทารก และช่วยให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง
1. ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์
ที่ Beyond IVF มีบริการปรึกษาฟรีสำหรับผู้ที่เตรียมตัวมีบุตรหรือมีภาวะมีบุตรยาก พร้อมการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ได้แก่:
- ตรวจเลือดหาโรคติดเชื้อ เช่น โรคที่อาจส่งผลต่อทารก ตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือด แอนติบอดีโรคหัดเยอรมัน ระดับน้ำตาลในเลือด HIV และโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
- หากพ่อแม่ทั้งสองมีธาลัสซีเมีย ลูกจะมีโอกาส 100% ที่จะเป็น
- หากทั้งคู่เป็นพาหะ โอกาสมีลูกปกติ 25%, เป็นพาหะ 50%, เป็นโรค 25%
- หากมีเพียงคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ ลูกมีโอกาส 50% ที่จะเป็นพาหะ
- หากคนหนึ่งเป็นโรค อีกคนไม่เป็นหรอไม่ใช่พาหะ ลูกจะเป็นพาหะ 100%
- หากคนหนึ่งเป็นโรค อีกคนเป็นพาหะ ลูกมีโอกาสเป็นโรคหรือพาหะอย่างละครึ่ง
- ตรวจระดับฮอร์โมนสืบพันธุ์ เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ อัณฑะ และสมดุลฮอร์โมน เช่น
- AMH บ่งบอกคุณภาพรังไข่
- Estradiol (E2) ฮอร์โมนเพศหญิงหลัก
- Progesterone (P4) ช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อนและรักษาภาวะครรภ์
- LH กระตุ้นการทำงานของรังไข่และอัณฑะ
- Prolactin (PRL) ควบคุมรอบเดือนและการผลิตน้ำนม
- FSH กระตุ้นการเจริญของไข่
- อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อตรวจดูความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ เช่น ซีสต์ หรือก้อนเนื้องอกที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยลดความเครียดและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เช่น เดิน ว่ายน้ำ แอโรบิก โยคะ ควรออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหม
5. นอนหลับให้เพียงพอ
ควรนอนวันละอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ช่วยลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากจากการรบกวนฮอร์โมนเจริญพันธุ์
6. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้
หากใช้ยาใดอยู่ควรแจ้งแพทย์ เพราะบางชนิดอาจกระทบต่อการตั้งครรภ์ หากรับประทานยาคุม อาจตั้งครรภ์ทันทีที่หยุด หรืออาจใช้เวลาหลายเดือนจนกว่าจะตกไข่อีกครั้ง การตั้งครรภ์ทันทีหลังหยุดยาคุมไม่เป็นอันตราย
สรุป
การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากคุณสงสัยว่าควรดูแลตนเองอย่างไร ให้ปรึกษาแพทย์หรือลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นและลูกมีสุขภาพดี
หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้ทาง Line: @beyondivf